วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

jaruwan1990: ประวัติเจ้าหญิงไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

jaruwan1990: ประวัติเจ้าหญิงไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์: ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ( อังกฤษ : Diana, Princess of Wales ) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances, née T...

ประวัติเจ้าหญิงไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

เจ้าหญิงไดอานา.jpg
ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Diana, Princess of Wales) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances, née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2524 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี พ.ศ. 2539 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของอังกฤษ สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปนิยมขนานพระนามว่า "เจ้าหญิงไดอานา" ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพระนามนี้ถือว่าผิดในทางทฤษฎี2504
ไดอานาได้เป็นสมาชิกราชวงศ์อังกฤษจากการอภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ เมื่อ 29 กรกฎาคม 2524 พระราชพิธีอภิเษกสมรสมีขึ้นที่มหาวิหารเซนต์พอล กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีผู้รับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีในครั้งนี้มากถึง 750 ล้านคนทั่วโลกต่อมาไดอานาได้ให้กำเนิดพระโอรสทั้งสองพระองค์คือ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี รัชทายาทลำดับที่สองและสามแห่งการสืบสันติวงศ์แห่งราชบัลลังก์อังกฤษและ 16 เครือจักรภพ นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2540 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณียกิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับนักแสดงที่มีชื่อเสียงไดอานาเป็นที่จดจำภาพลักษณ์การแต่งกาย แฟชั่น งานด้านการกุศลและเป็นบุคคลสาธารณะในช่วงปลายศตวรรษที่ 20 จากการเป็นพระชายาองค์แรกของเจ้าชายแห่งเวลส์ ไดอานาเคยรณรงค์ต่อต้านการใช้กับระเบิดทั่วโลก และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของโรงพยาบาลเด็ก เกรท ออร์มันด์ สตรีทตั้งแต่ปี 2532 จนถึง 2538
 วัยเด็ก
          ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์ เกิดเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 เวลา 18.39 น. ที่ปาร์กเฮ้าส์ เมืองแซนดริงแฮม มณฑลนอร์ฟอล์ก เป็นธิดาคนเล็กของจอห์น สเปนเซอร์ ไวสเคานท์อัลธอร์พ (เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 8 ในเวลาต่อมา) กับภรรยาคนแรก ดิออนนูเรเบิล ฟรานเซส เบิร์ก ร็อฌ (ต่อมาเป็น นางฟรานเซส ชานด์ คีดด์) บิดาของไดอานาสืบเชื้อสายมาจากยุกแห่งมอลเบอระที่ 1 มารดาของไดอานามีเชื้อสายระหว่างอังกฤษกับไอริช เป็นลูกสาวของบารอนเฟอร์มอยที่ 4 กับเลดี้รูธ ซิลเวีย กิล นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธโบว-ลีออนส์
ไดอานามีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ดังนี้
  1. ซาราห์ เอลิซาเบธ ลาวินา สเปนเซอร์ พี่สาวคนโต (ปัจจุบันคือ เลดี้ซาราห์ แมคคอร์ควอเดล)
  2. เจน ซินเธีย สเปนเซอร์ พี่สาวคนรอง (ปัจจุบันคือ บารอนเนสเฟลโลวส์)
  3. ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์ (เจ้าหญิงแห่งเวลส์ 2524-2540)
  4. จอห์น สเปนเซอร์ (ถึงแก่กรรมหลังคลอดได้เพียง 10 ชั่วโมง)
  5. ชาร์ลส์ เอ็ดเวิร์ด มัวริซ สเปนเซอร์ น้องชายเพียงคนเดียว(ปัจจุบันคือ เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 9)
ไดอานาทำพิธีล้างบาปที่โบสถ์เซนต์มารี แมกดาลีน โดยสาธุคุณเพอร์ซี่ เฮอร์เบิร์ต (เจ้าอาวาสและอดีติชอปแห่งนอร์วิชและแบล็กเบิร์น) ในวันที่ 30 สิงหาคม 2504 โดยมีจอห์น ฟลอยด์ (ประธานบริษัทประมูลคริสตี้ส์) เป็นพ่อทูนหัว
ความสัมพันธ์กับเจ้าชายแห่งเวลส์
พิธีหมั้นและพระราชพิธีอภิเษกสมรส
        สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมออกแถลงการณ์เรื่องพิธีหมั้นอย่างเป็นทางการของเจ้าชายชาร์ลส์กับเลดี้ไดอานา สเปนเซอร์ ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2524 หลังจากไดอานาเลือกแหวนหมั้นแพลตินัมประดับแซฟไฟร์เม็ดใหญ่ล้อมรอบด้วยเพชรอีก 14 เม็ดเล็กในมูลค่า 30,000 ปอนด์ (มูลค่าในปัจจุบันนี้ 85,000 ปอนด์)คล้ายคลึงกับแหวนของฟรานเซสผู้เป็นแม่ แหวนนี้ถูกทำขึ้นโดยช่างเพชรหลวงเจอร์รัลด์ แต่สมาชิกราชวงศ์หลายพระองค์กลับไม่ทรงโปรดปรานเครื่องเพชรจากเจอร์รัลด์และต่างรู้สึกว่าแหวนหมั้นแซฟไฟร์ล้อมเพชรนี้ไม่ได้ผลิตให้เฉพาะแต่ไดอานาเพียงผู้เดียว เพราะแหวนแซฟไฟร์วงนี้เคยปรากฎอยู้ในคอลเลคชั่นเครื่องเพชรของเจอร์รัลด์ด้วย อีก 30 ปีต่อมาแหวนแซฟไฟร์ล้อมเพชรของไดอานาได้กลายเป็นแหวนหมั้นของเคท มิดเดิลตัน พระคู่หมั้นของเจ้าชายวิลเลียม โอรสองค์ใหญ่ของไดอานา
พระราชพิธีอภิเษกสมรสถูกจัดขึ้นในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม 2524 สาเหตุที่เลือกมหาวิหารเซนต์พอลแทนที่จะเป็นวิหารเวสมินสเตอร์ เนื่องจากสามารถจุผู้เข้าร่วมพระราชพิธีได้มากกว่า และมหาวิหารแห่งนี้ถูกนิยมใช้เป็นที่ประกอบพิธีเสกสมรสของพระราชวงศ์มายาวนาน และพระราชพิธีถูกถ่ายทอดสดมีผู้รับชมทั่วโลกมากกว่า 750 ล้านคนในวันนั้น และไดอานาได้รับการสถาปนาจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ให้ดำรงอิสริยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ในขณะที่มีอายุ 20 ปี และทำให้ไเธอกลายเป็นหญิงสามัญชนคนแรกในรอบหลายศตวรรษที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ
ประชาชนราว 600,000 คนบนบาทวิถีต่างตั้งตารอคอยช่วงเวลาที่ไดอานาเดินทางโดยรถแก้วโบราณเพื่อไปยังสถานที่ประกอบพิธี ณ แท่นบูชาในมหาวิหาร ระหว่างทำพิธีไดอานาได้ขานพระนามของเจ้าชายชาร์ลส์สลับตำแหน่งกันโดยไม่ได้ตั้งใจ โดยพูดว่า "Philip Charles Arthur George" แทนที่จะเป็น "Charles Phillip ..." และไม่ได้สาบานต่อหน้าบาทหลวงว่า "จะอยู่ในโอวาทของพระสวามี"คำสาบานตามธรรมเนียมนี้ถูกตัดออกไปจากพิธีตามคำร้องขอจากคู่สมรสที่ได้สร้างกระแสวิพากย์วิจารณ์ในขณะนั้นพอควร ไดอานาสวมชุดเจ้าสาวสีขาวราคา 9,000 ปอนด์ ชายกระโปรงยาวถึง 8 เมตร ผลงานการตัดเย็บของเดวิดและเอลิซาเบธ เอ็มมานูเอล เค้กแต่งงานสั่งทำกับเชฟแพสทรีชาวเบลเยียม แอส. ชี. ซองแดร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม คนอบเค้กสำหรับพระราชา
พระกรณียกิจ
     
       นับตั้งแต่ปี 2528 เจ้าหญิงแห่งเวลส์เริ่มปฏิบัติพระกรณียกิจงานด้านการกุศลมากมาย อาทิ การเสด็จเยี่ยมโรงพยาบาลหลายแห่ง เสด็จเยี่ยมโรงเรียนเวสต์ฮีธที่เคยศึกษา พระองค์เริ่มสนใจกิจกรรมอาสาสมัครอย่างจริงจัง เห็นได้จากการเสด็จเยี่ยมผู้ป่วยโรคร้ายอย่างโรคเอดส์และโรคเรื้อน ซึ่งไม่เคยมีเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดปฏิบัติมาก่อน นอกจากนี้เจ้าหญิงยังได้ดำรงตำแหน่งผู้อุปถัมภ์องค์การกุศลต่างๆ ที่มักเกี่ยวข้องกับคนไร้บ้าน เด็ก ผู้ติดยา และผู้สูงอายุ รวมทั้งเคยเป็นผู้นวยการโรงพยาบาลเด็กเกรทออร์มันด์สตรีท ไดอานาร่วมสนับสนุนนโยบายการต่อต้านการใช้กับระเบิด และได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อปลายปี 1997 หลังจากการเสียชีวิต
            ในตอนแรกๆ นั้นเจ้าชายชาร์ลส์ทรงคบหาอยู่กับซาราห์ พี่สาวคนโตของไดอานา ซึ่งในขณะนั้นเจ้าทรงมีพระชนมายุเกือบ 30 ชันษาและทรงถูกกดดันให้อภิเษกสมรส ซึ่งตอนนั้นซาราห์เคยถูกคาดหวังจะได้เป็นเจ้าสาวของเจ้าชายชาร์ลส์ในอนาคต โดยพระองค์จะเสกสมรสกับหญิงพรหมจรรย์ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์เท่านั้น หากทรงเสกสมรสกับสตรีที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก พระองค์จะถูกตัดสิทธิ์ในการขึ้นครองราชบัลลังก์ทันที ตามมาตราที่ 1701 แห่งกฎหมายอังกฤษ
บารอนเนสเฟอร์มอย ยายของไดอานาเห็นว่าหลานสาวของเธอคนนี้แหละที่เหมาะสมกับเจ้าชายชาร์ลส์ที่สุด เพราะไดอานายังเป็นสาวบริสุทธิ์ ยังไม่เคยคบหากับชายใดมาก่อน และยังเป็นลูกสาวของขุนนางอังกฤษผู้สูงศักด์ิ จึงทำให้บารอนเนสเห็นว่าไดอานาคู่ควรที่จะได้เสกสมรสกับเจ้าชายอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเหมาะสมกันตามสถานะในสังคม
เจ้าชายชาร์ลส์รู้จักไดอานามานานหลายปี เพราะซาราห์ผู้เป็นพี่สาวเคยชวนไดอานาไปร่วมชมการล่าสัตว์และแข่งโปโลกับพระองค์อยู่เนืองๆ แต่หลังจากที่พระองค์ทรงเลิกรากับซาราห์แล้ว ทรงสนพระทัยไดอานาอย่างจริงจังในฤดูร้อนปี 2523 ที่นั่นไดอานาชมการแข่งขันโปโลของเจ้าชายและได้ร่วมงานปาร์ตี้ที่สองได้มีโอกาสพูดคุยกันอย่างถูกคอ ความสัมพันธ์พัฒนาขึ้นไปอีกขั้น เมื่อได้รับคำเชิญจากเจ้าชายให้ไปร่วมเรือยอชท์หลวงบริทาเนียในงานแข่งเรือใบ ตามมาด้วยคำเชิญจากเจ้าชายชาร์ลส์ที่ให้เธอไปพักผ่อนที่พระตำหนักบัลมอรัลในสก็อตแลนด์ ซึ่งได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีจากสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2, เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินเบอระ และสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธ และความสัมพันธ์ระหว่างไดอานากับเจ้าชายชาร์ลส์ก็กลายเป็นความรักหวานหอม จนกระทั่งในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2524 เจ้าชายขอเสกสมรสกับไดอานา ซึ่งเธอตอบตกลง แต่เรื่องนี้ถูกเก็บไว้เป็นความลับจนกระทั่งหลายสัปดาห์ต่อมา